วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุป บทที่ 1บทนำ


สรุปบทที่ 1
ความรู้ด้านธุรกิจ
1.ธุรกิจ
ได้จำแนกรูปแบบขององค์กรธุรกิจได้ดังนี้
                รูปแบบที่ 1 เจ้าของคนเดียว คือ องค์กรขนาดเล็กที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ
                รูปแบบที่ 2 ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการค้าที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่นจำกัด
                รูปแบบที่ 3 บริษัทจำกัด คือ กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคล ด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวดๆ โดยจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน
                รูปแบบที่ 4 รัฐวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน 50%
2. ประเภทของธุรกิจ
ได้แบ่งประเภทของตลาดธุรกิจ ในปัจจุบันออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
                ประเภทที่ 1 หน่วยบริการ ถือเป็นหน่วยธุรกิจที่เป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เป็นหน่วยธุรกิจที่เรียบง่ายและไม่มีความลับซับซ้อน
                ประเภทที่ 2 หน่วยค้าของสินค้า หรือธุรกิจพานิชยกรรม หน่วยธุรกิจนี้จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่ซับซ้อนมากกว่าหน่วยบริการ
                ประเภทที่ 3 หน่วยผลิตสินค้า หรือธุรกิจอุตสาหกรรม โดยถือเป็นหน่ยธุรกิจที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจสูง
3. การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
                ในส่วนกิจกรรมการดำเนินงาน คือ การดำเนินงานด้านต่างๆ ที่จำเป็นของธุรกิจ เพื่อความอยู่รอกดขององค์การ โดยหมายรวมถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
                กิจกรรมที่ 1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่นๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
                กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
                กิจกรรมที่ 3 การขาย ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการแก่ลูกค้า
                สรปได้ว่า ธุรกิจจะต้องมีการจัดตั้งธุรกิจนำเงินมาลงทุน หรืออาจกู้ยืมเงินมาใช้สำหรับการจัดหาทรัพยากรทางธุรกิจ ซึ่งใช้สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรม
4. หน้าที่งานทางธุรกิจ
                หน้าที่ทางธุรกิจ หรือฟังก์ชั้นทางธุรกิจ มักใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน มักจะกำหนดตามการไหลทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง เช่น มีการไหลของทรัพยากรข้อมูลจากฝ่ายการตลาดเข้าสู่ฝ่ายการผลิต และการบัญชีเป็นต้น
5. การจัดโครงสร้างองค์การ
                โดยแต่ละหน้าที่งานธุรกิจจะเกิดกิจกรรมการดำเนินงานที่ต่างกันซึ่งอธิบายได้ในแต่ละหน้าที่งาน ดังนี้
หน้าที่งาน 1 การจัดการวัตถุดิบ มีจุดประสงค์เพื่อการวางแผนและควบคุมวัตถุดิบคงเหลือของบริษัทให้เพียงพอต่อความต้องการการผลิต
หน้าที่งาน 2 การผลิต กิจกรรมการผลิตจะเกิดขึ้นภายใต้วัฏจักรการแปลงสภาพวัตถุดิบ แรงงาน ทรัพยากรโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป
หน้าที่งาน 3 การตลาด ตลาดเป็นสถานที่ซื้อขายซึ่งต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเป้าหมายตลอดจนการเข้าถึงตัวสินค้าหรือบริการนั้น หน้าที่งานทางการตลาดมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาของการวางกลยุทธ์ทางการตลาดของการส่งเสริมการขายสินค้า การโฆษณาหรือการวิจัยตลาด เป็นต้น
หน้าที่งาน 4 การจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมด้านการกระจายสินค้าให้ลูกค้าภายหลังการขายสินค้า จึงเป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งมักเกิดความผิดพลาดขึ้นบ่อยครั้งก่อนที่ลูกค้าจะได้รับสินค้า
หน้าที่งาน 5 ทรัพยากรมนุษย์ ลูกจ้างที่มีความสามารถและไว้วางใจเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับธุรกิจ วัตถุประสงค์ของหน้าที่งานด้านทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ การจัดการทัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่งาน 6 การเงิน โดยทำหน้าที่ในด้านการบริหารทรัพยากรทางการเงินของบริษัทผ่านธนาคารและกิจกรรมการคลัง
หน้าที่งาน 7 การบัญชี โดยทำหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของกิจการใน 2 บทบาท ของการประมวลผลรายงานที่เปลี่ยนแปลง
หน้าที่งาน 8 การบริการคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดเก็บและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการประมวลผลข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าที่งานด้านบัญชี
ความรู้ด้านสารสนเทศ
1.ข้อมูล
        ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น 
2.สารสนเทศ
       สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ  เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบ ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
3.ความรู้
       ความรู้ (Knowledge) จะประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งถูกจัดโครงสร้างและประมวลผล เพื่อถ่ายโอนความเข้าใจ ประสบการณ์และการเรียนรู้ รวมทั้งความเชี่ยวชาญที่เก็บสะสมไว้ภายในฐานความรู้ซึ่งใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
1.สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับกรณี ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
2.สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
3. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5.สารสนเทศที่ดีต้องมีการสรุปสาระสำคัญ
6.  สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
1.องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
1.กระบวนการทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจ คือ การรวมตัวของ 3 ส่วนประกอบ คือ
   1.1 กระบวนการปฏิบัติการ
   1.2 กระบวนการจัดการ
   1.3 กระบวนการสารสนเทศ
2.แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ
    สำหรับแนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจทมีส่วนสัมพันธ์กับการดำเนินงานภายใต้กระบวนการทางธุรกิจ โดยจำแนกระดับของการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ 2 ระดับ คือ
    2.1 ระดับปฏิบัติการ
    2.2 ระดับผู้บริหาร
3.สายงานด้านสารสนเทศ โดยสามารถจำแนกสายงานด้านสารสนเทศได้ ดังนี้
3.1 สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง คือ สายงานที่เกิดจากระดับชั้นของการบริหารงานในองค์การ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    3.1.1 การรายงานผลการปฏิบัติการ
    3.1.2 การงบประมาณและการสั่งการ
3.2 สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน คือ สายงานที่เกิดขึ้นจากการกระจายสารสนเทศไปยังส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
     3.2.1 การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ
     3.2.2 การกระจายสารสนเทศไปยังองค์การภายนอก
สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
         โลกาภิวัตน์ หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก
1.ระบบเศรษฐกิจ
      ระบบเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจยุคดิจิทัล หมายถีง เศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีอื่นๆ
2.การจัดองค์การ
       สำหรับการดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จะปรากฏการจัดองค์การรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า องค์การดิจิทัล คือ องค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ โดยอาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า
3.แบบจำลองธุรกิจ
      แบบจำลองธุรกิจ คือ วิธีการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างรายได้เพื่อค้ำจุนองค์การให้อยู่รอด แบบจำลองนี้จะอธิบายถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายค่าซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์การ
4.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ และอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์แบบกระจาย โดยมีการเชื่อมต่อของระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น
5.โอกาสของผู้ประกอบการ
       โอกาสของผู้ประกอบการทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จะต้องใช้วิธีการโต้ตอบต่อแรงกดดันทางธุรกิจแบบใหม่ Turban et al. ได้กำหนดวิธีโต้ตอบหลักขององค์การไว้ 7 วิธี
       1.การจัดการเชิงกลยุทธ์
       2.จุดศูนย์รวมลูกค้า
       3.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
       4.การปรับกระบวนการทางธุรกิจ
       5.นวัตกรรมด้านการผลิตตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก
       6.ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิรซ
       7.พันธมิตรทางธุรกิจ
          ธุรกิจส่วนใหญ่จะถุกก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายแสวงหากำไร ด้วยกันทั้งนั้น  การดำเนินธุรกิจประกอบไปด้วยหน้าที่งานต่างๆ ซึ่งปฎิบัติกิจกรรมดำเนินงานที่หลากหลายภายใต้โครงสร้างองค์การของธุรกิจ นอกจากนี้ธุรกิจมีความจำเป็นที่จะรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล สารสนเทศและความรู้ เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฎิบัติการและระดับบริหาร โดยสารสนเทศที่ได้รับจะมีคุณลักษณะที่ดี และสามารถใช้ในแต่ละระดับกระบวนการทางธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
          ในการดำเนินธุรกิจยุคโลกาวิวัฒน์ ธุรกิจส่วนใหญ่มักปรับโครงสร้างด้วยการใช้รูปแบบขององค์การดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครรื่องมีอคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อสนัสนุน การดำเนินงานทางธุรกิจ ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจ หลักเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น