วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

1. จงอธิบายเป้าหมายทางการเงินทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ตอบ  เป้าหมายทางการเงินของธุรกิจและผู้ถือหุ้น คือ การสร้างมูลค่าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คือ การนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหากสินค้านั้นติดตลาดหรือผู้ บริโภคตอบรับมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งยอดขายหรือผลกำไร ถือเป็นสิ่งตอบแทนให้ทั้งส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
2. จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานทางการเงิน
ตอบ ตัวอย่าง เช่น สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสดมีการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีตมาจัดทำแผนงบ ประมาณเงินสดที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคต
3. เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคตลอด
ตอบ เนื่อง จากธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานทำให้เกิด ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่คาดการณ์ คือ การใช้เงินทุนสูงเกินไปตลอดการเกิดฉ้อฉลซึ่งจะนำความหายนะมาสู่ทางการเงิน ได้
4. ธุรกิจมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ 1. ควบคุมการใช้เงินสดภายในกิจการ
         2. มีการบริหารจัดหารทางการเงินของกิจการให้มีความรัดกุม
         3. จัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองในการบริหารงานหากเกิดการผิดพลาดขึ้น
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงินมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของแต่ละระบบอย่างไร
ตอบ การเริ่มต้นจากระบบล่างไปหาระบบที่อยู่บนสุดซึ่งระดับที่อยู่บนสุดจะต้องอาศัย การตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดเนื่องจากระบบนี้มีความเสี่ยงค่อนข้าง เยอะ
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
ตอบ เพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินโดยนำสารสนเทศทางการเงินในอดีตมาใช้เพื่อพยากรณ์ทางการเงินในอนาคต
7. ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบควบคุมทางการเงินอย่างไร
ตอบ ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อ ใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ส่วนระบบควบคุมทางการเงิน คือ การพยากรณ์หรือ การควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบ ระบบสารสนเทศด้วย
8. การพยากรณ์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กับงบประมาณเงินสดและงบประมาณการลงทุนอย่างไร
ตอบ มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบพยากรณ์ทางการเงินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเป็น อันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน ส่วนงบประมาณเงินสดเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินใน ลำดับต่อมา  และระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจ การลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
9. จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากตลาดการเงินสำหรับการจัดหาเงินทุน
ตอบ การจัดหาเงินทุนตัวอย่าง เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
10. จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
ตอบ ธุรกิจขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภค

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศทางการเงิน


ระบบสารสนเทศทางการเงิน
ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
การจัดการทางการเงิน
การเงิน คือ หน้าที่งานหนึ่งของธุรกิจซึ่งมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆเป็นไปอย่างราบรื่น
การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่นคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ขอบเขตงานทางการเงิน
1. ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆ ได้แก่ หลักทรัพย์และตราสารทางการเงินของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยจำแนกเป็น
1.1 ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
1.2 ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยจำแนกเป็น
ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์แก่ผู้ซื้อในครั้งแรก
ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์จากผู้ซื้อครั้งแรกสู่ผู้ซื้อครั้งต่อๆไป
2. การลงทุน เป็นการตัดสินใจลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์การ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย หรือการถือครองสินทรัพย์
3. การเงินทางธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินภายในองค์การ เช่น การให้สินเชื่อทางการค้า การจัดการเงินสด การจัดหาเงินทุน รวมทั้งการจัดโครงสร้างทางการเงิน
หน้าที่ทางการเงิน
ธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะตอบสนองภารกิจสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. การพยากรณ์และการวางแผน คือ หน้าที่ด้านการพยากรณ์ถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต และดำเนินการวางแผนทางการเงินตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
2.  การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยคัดเลือกแหล่งเงินทุน ซึ่งมีต้นทุนเงินทุนต่ำที่สุดจะถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด
3. การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
4. การจัดการเงินทุน สำหรับเงินทุนที่จัดหามา แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรให้ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆจะต้องมีการจัดการเงินทุน ประเภทของการบริหารเงินทุนมี 3 ประเภท คือ การจัดการสภาพคล่อง การจัดการเติบโต  การจัดการความเสี่ยง
เป้าหมายทางการเงิน
1. กำไรสูงสุด เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
2.  ความมั่งคั่งสูงสุด หากธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย
การตัดสินใจทางการเงิน
การตัดสินใจทางการเงิน
1. การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด โดยเริ่มต้นจาการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
2. การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ภายในกิจการ
2. แหล่งเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ  การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
3. การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยมีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงอยู่หลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้ว
สารสนเทศทางการเงิน
สารสนเทศทางการเงิน หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน  ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
สารสนเทศทางการเงินสามารถจำแนกได้เป็น 3  ประเภท
1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและจ่ายเงินสด และการจัดหาและการจัดหาเงินทุน ตลอดจนการจัดหาเงินทุนในสินทรัพย์ ดังนี้ สารสนเทศด้านกระแสเงินสด สารสนเทศด้านเงินทุน สารสนเทศด้านการลงทุน
2. สารสนทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้ สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน
3. สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารสนเทศจากตลาดการเงิน สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งต่างๆตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน โดยจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอก
1.2 ระบบงบประมาณเงินสด คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อไป
 1.3 งบประมารลงทุน คือระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งคือการใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
2. ระบบจัดการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกันเพื่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ ในส่วนของการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน  สามารถจำแนกได้เป็น  4  ระบบย่อย ดังนี้
2.1 ระบบจัดหาเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุน ตามแผนการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน
2.2 ระบบจัดการเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการใช้และบริหารเงินทุน หลังจากที่องค์การจัดหาเงินทุนนั้นๆ เข้ากิจการเรียบร้อยแล้ว
2.3 ระบบจัดการเงินลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุนหลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะต้องดำเนินการจัดการเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ระบบจัดการเงินสด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้ในงานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปแบบเงินสด
3. ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน  เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของการรับและจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านของการจัดหาสินทรัพย์  การลงทุนและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่างๆ
4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. ระบบควบคุมทางการเงิน จำแนกไดเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
5.1 การควบคุมงบประมาณ งบประมาณที่ถูกวางแผนไว้แต่เริ่มแรกมักจะอยู่ในรูปแบบงบประมาณรายปี
5.2 การตรวจสอบมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าฐานะทางการเงินของธุรกิจซึ่งนำเสนอในงบการเงินมีความถูกต้อง
5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ ในปัจจุบันธุรกิจมักบูรณาการวิธีต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของการบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจซึ่งเป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการควบคุมทางการเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น
2.  ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้
2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง
2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
3.1บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทำบัตรเครดิตกับองค์การหรือสถาบันทางการเงินภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์ อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย
3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบตามกำหนดจ่ายเงิน และไม่จำเป็นต้องมีการลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป
3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะทำการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตังค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า
3.6 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นวิธีให้บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสำนักหักบัญชีอัตโนมัติ หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทำการโอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ
3.7 ระบบธนาคารศูนย์กลาง   มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่ลายแห่งทั่วประเทศ และยังมีการจัดตั้งสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจำภูมิภาคเพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารในท้องถิ่นนั้นๆ
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือ โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ
4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน  คือ พื้นทีอีกด้านนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุกๆหน้าที่งานด้านการเงินรวมทั้งหน้าที่ด้านการค้าเงินระหว่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 7


แบบฝึกหัดบทที่ 7

1. จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ

ตอบ ตัวอย่างเช่น การปรับตราสินค้า การส่งจดหมายทางตรงถึงลูกค้า และการจัดทำเว็บไซน์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ธุรกิจ

2. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด

ตอบ เป็นการส่งเสริมด้านการโฆษณา การสนับสนุนลูกค้าหรือการทดสอบผลิตภัณฑ์โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบน เว็บโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ณ ที่บ้านหรือสำนักงานก็ได้

3. ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไรจึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้

ตอบ 1. ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ

2. มีการประชาสัมพันธ์หรือการติดต่อกับลูกค้าเป็นประจำ

3. มีการบริการหลังการขายอยู่เสมอ

4. จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่า และการสื่อสารคุณค่า

ตอบ แนว ทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดในการเลือกคุณค่า คือ ผู้ขายจะต้องทำความเข้าใจในความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าเพื่อทำการ แบ่งส่วนตลาด การกำหนดเป้าหมายและการวางตำแหน่งทางการตลาดในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความ แตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ

ใน ส่วนของการจัดหาคุณค่าผู้ขายจะต้องอาศัยกระบวนการในส่วนของตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือก ซื้อสินค้า

การ สื่อสารคุณค่าผู้ขายจะต้องมีการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดการสื่อสารถึงข้อดี ของสินค้าตลอดจนทำการชักชวนให้ลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างรูปแบบต่างๆ เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง

ตอบ ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่นๆทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและการชำระเงินของลูกค้า ระบบโลจิสติกส์ในส่วนการรับสินค้าขาเข้าและการส่งออกขาออก

6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์

ตอบ วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ การเพิ่มรายได้ให้กับองค์การ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และช่วยสร้างข้อเสนอที่ดีสำหรับลูกค้าแต่ละรายหรือแต่ละกลุ่มรวมทั้งการปรับ ปรุงประสิทธิภาพทางด้านงานบริการ

7. ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพราะเหตุใด

ตอบ โปรแกรม จัดการลูกค้าสัมพันธ์ โปรแกรมวางแผนทรัพยากรองค์การ ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์บนเว็บ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการงานด้านการพบปะลูกค้าและความสามารถด้าน การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า การแนะนำสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าเป็นต้น

8. ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย

ตอบ การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อ การกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาดเป็นต้น

9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย

ตอบ Seven – 11 , Big c supercenter เป็นต้น

10.ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร

ตอบ เนื่อง จากตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดและระบบสนับสนุนทางการตลาดนั้นมีการเชื่อม โยงกันในด้านการเก็บข้อมูล การวางระบบ โดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวมและแปลความหมายของสารสนเทศทางการตลาด เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินด้านการตลาดต่อไป